ไลค์หน่อยคับ

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การนับเชื้อแบบที่ 3

แบบ Membrane filtration method

วิธีนี้เหมาะสำหรับตัวอย่างมีจำนวนจุลินทรีย์อยู่น้อยและจำเป็นต้องใช้ปริมาตรของตัวอย่างมากเพื่อความแม่นยำในการตรจหาจุลินทรีย์แบบปริมาณวิเคราะห์ (quantitativeanalyses) ตัวอย่าง  100 มล.หรือมากกว่าจะถูกกรองผ่าน membrane filter  ซึ่งมีรูขนาด 0.45 ไมครอน (แบคทีเรียไม่สามารถผ่านได้ดังนั้นจุลินทรีย์จะถูกกักอยู่บนกระดาษกรอง จากนั้นนำกระดาษกรองวางในจานอาหารที่มีกระดาษซึ่งชุ่มด้วยอาหารเหลว (liquid nutrient medium)อยู่แล้ว โคโลนีของจุลินทรีย์จะเจริญบนกระดาษกรอง วิธีนี้มักใช้กับการตรวจวิเคราะห์ coliform bacteria ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ (indicator) การปนเปื้อนจากอุจจาระในอาหาร หรือน้ำ 





การนับเชื้อแบบที่ 2

แบบ Spread plate

 เป็นวิธีการนับจำนวนโคโลนีของจุลินทรีย์ที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ 0.1 มล.หยดลงบนจานอาหารที่มีอาหารเลี้ยงเชื้อซึ่งแข็งตัวแล้ว (solidified agar medium)เชื้อจุลินทรีย์จะถูกแผ่กระจายทั่วผิวหน้าอาหารเลี้ยงเชื้อด้วยแท่งแก้วพิเศษที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว (spreader)วิธีนี้ผู้วิเคราะห์จะสามารถสังเกตลักษณะโคโลนีของจุลินทรีย์ได้ง่าย  ในบางครั้งวิธี spread plate อาจนับปริมาณเซลล์ได้มากกว่าวิธี pour plate  เนื่องจากจุลินทรีย์ไม่ได้เจอกับความร้อนจากอาหารเลี้ยงเชื้อหลอมเหลวเหมือนวิธี pour plate    ในกรณีที่ตัวอย่างมีเซลล์  จุลินทรีย์อยู่น้อย การใช้วิธีนี้อาจขาดความถูกต้องแม่นยำเนื่องจากใช้ปริมาณตัวอย่างค่อนข้างน้อย (0.1 มล.) ในการ plating



การนับเชื้อแบบที่ 1

การนับโดยตรง (direct count) เป็นการนับจำนวนโดยตรงจากกล้องจุลทรรศน์

 มี หลายวิธี  คือ
1.1 การนับเชื้อแบคทีเรียที่ผ่านการตรึงและย้อมสี (stained film) วิธีนี้เป็นการนับเชื้อแบคทีเรีย ปริมาตร 0.01 มลที่ถูกตรึงและย้อมสีอยู่บนสไลด์ภายในพื้นที่ ตร.ซมวิธีนี้มีข้อดีตรงที่ทำง่าย รวดเร็ว ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ไม่แพง แต่มีข้อเสียตรงที่เป็นการนับจำนวนแบคทีเรียทั้งหมด (total count) ทั้งเซลล์ที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต นอกจากนี้ตัวอย่างที่จะตรวจนับต้องมีจำนวนเชื้อแบคทีเรียมาก
1.2 การนับเชื้อบนสไลด์ที่มี counting chamber  สไลด์ที่มี counting chamber ได้แก่
Petroff – Hausser counting chamberนิยมใช้นับจำนวนแบคทีเรีย
Haemacytometer ใช้นับ eucaryotic microbe ที่มีขนาดใหญ่

สไลด์พวกนี้จะมีแอ่ง 
(chamber)ซึ่งรู้ความลึกของ chamberและที่พื้นของchamberจะมีตารางสี่เหลี่ยมซึ่งทราบความกว้างความยาวของตารางสี่เหลี่ยมดังนั้นเมื่อหยดเชื้อจุลินทรีย์ลงไปในchamberที่มีcoverglassปิดอยู่ตรวจนับเชื้อจุลินทรีย์ด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 400Xในสี่เหลี่ยมลูกบาศก์เล็กก็จะทำให้สามารถคำนวณหาจำนวนเซลล์ต่องตัวอย่างได้สำหรับข้อดีข้อเสียของ countingchamber จะเหมือนกับนับด้วยวิธี stained film




วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วุ้น

       วุ้น เป็นสารประกอบ Hydrocolloids ได้จากการสกัดสาหร่ายแดง Gracilaria หน่วยย่อยพื้นฐานของวุ้นเป็นสารประกอบ Polysaccharide กลุ่ม Galactose  วุ้น (AGAR) มีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำ ให้สารคงรูปที่มีลักษณะแข็ง ยืดหยุ่น ที่เรียกว่า Gel เมื่อ Gel ได้รับความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 85 องศาเซลเซียส ก็จะหลอมละลายอยู่ในรูปของเหลว แต่สามารถย้อนกลับมาอยู่ในรูป Gel อีกครั้ง เมื่ออุณหภูมิลงมาที่ 35-40 องศาเซลเซียส ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวทำให้ Agar เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ
          อุตสาหกรรมขนมหวาน ( Dessert Industry )  วุ้นนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการทำขนมหวานหลายชนิด วุ้นมะพร้าวอ่อน วุ้นกะทิ วุ้นกาแฟ และเป็นตัวทำให้เกิด gel 
           อุตสาหกรรมอาหาร ( Food Industry )  ในผลิตภัณฑ์เนื้อ และสัตว์ปีก จะมีการใช้วุ้นเป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น ช่วยให้มีลักษณะเนื้อสัมผัส ความสามารถในการอุ้มน้ำ สี และกลิ่นรสของผลิตภัณฑ์ดีขึ้น




Potato dextrose agar

        Potato dextrose agar ตัวย่อ PDA เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อที่ประกอบด้วยมันฝรั่งและน้ำตาลเดกโทรส (dextrose) นิยมใช้สำหรับเลี้ยงเชื้อรา ยีสต์ และแบคทีเรีย เตรียมได้จากนำ มันฝรั่งมาหั่นเป็นชิ้นบางๆ 300 กรัม ต้มในน้ำ 30 นาที กรองแล้วจึงใส่ในอาหาร เติมเด็กโทรส และวุ้น (agar) อย่างละ 20 กรัม แล้วจึงนำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่ความดัน 15 psi เป็นเวลา15 นาที การกรอกใส่ขวด นิยมใช้ขวดเหล้าแบนที่ล้างสะอาดและตากแห้งแล้วมากรอกอาหาร โดยใช้กรวยเล็กๆ กรอก ใส่อาหารลงไปให้สูงจากพื้นก้นขวดประมาณ ๑ นิ้ว ระมัดระวังไม่ให้อาหารเปื้อนปากขวด หากเปื้อนต้องใช้สะอาดเช็ดออกให้เกลี้ยงหรือถ่ายอาหารลงขวดใหม่      
 

ขั้นตอนการเตรียมวุ้น

1. นำมันฝรั่งมาล้าง ปอกเปลือก หั่นให้มีขนาด 1x1x1 เซนติเมตร
2. นำไปต้มกับน้ำสะอาด 1 ลิตร ต้มจนน้ำเดือด ใ้ช้ไฟอ่อน ๆ นาน 15 นาที
3. กรองเอากากมันออก เอาแต่น้ำวัดปริมาตรให้ได้ 1 ลิตร
4. ละลายวุ้นกับน้ำพอเปียก เทใส่ในน้ำต้มมันฝรั่ง นำไปต้มคนให้ละลายแล้วเติมน้ำตาลหรือกลูโคส คนละลายให้เข้ากัน แล้วยกลง
5. นำมาบรรจุขวดแบน ใส่อาหารวุ้นลงไปให้สูงจากพื้นก้นขวดประมาณ 1 นิ้ว ระวังไม่ให้วุ้นเปื้อนปากขวด อุดด้วยสำลีและหุ้มด้วยกระดาษ รัดยางให้แน่น
6. นำขวดวุ้นไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน ใช้ความดันประมาณ 15-16 ปอนด์/ตารางนิ้ว นึ่งนานประมาณ 25-35 นาที
7. เมื่อขวดอาหารวุ้นยังอุ่นพอจับได้ ให้นำขวดไปเอียงเพิ่มพื้นที่ผิววุ้น (การเอียงขวดให้หาไม้มารองด้านปากขวด หรือคอขวด)
8. เมื่อขวดวุ้นเย็นนำไปเขี่ยเนื้อเยื่อเห็ดใส่ หรือถ้ายังไม่เขี่ยเชื้อให้นำขวดอาหารวุ้นไปเก็บไว้ในตู้เย็นก่อนเพื่อรอเขี่ยเชื้อ สามารถเก็บขวดอาหารวุ้นได้นานเป็นเดือน


 

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

1. อบเชย                             
2. ดอกกระเจี๊ยบตากแเห้ง    
3. กานพลูตากแห้ง                
4. ผงวุ้น
5. น้ำตาลทราย
6. น้ำกลั่น
7. เพลตทดลอง
8. เตาแก๊สปิกนิค
9. แท่งแก้วคนสาร
10. หม้อ
11. ทัพพี
12. น้ำเปล่า
13. ครก
14. ขวดรูปชมพู่
15. เชื้อรา Aspergillus niger
16. มีด
17. มันฝรั่ง

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เชื้อรา Aspergillus

       Aspergillus เป็นสกุลของรามีสมาชิกประมาณ 200-300 ชนิดในธรรมชาติ พบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2272 โดย Pier Antonio Micheliชาวอิตาลีที่ดูเชื้อราด้วยกล้องจุลทรรศน์ Micheli เห็นว่ารูปร่างของราเหมือนน้ำพุจึงตั้งชื่อตามรูปร่างนั้น ในปัจจุบัน "aspergillum" เป็นชื่อของราที่ผลิตสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ ในขณะที่ 1 ใน 3 ของสปีชีส์ทั้งหมดมีระยะที่มีเพศ
         Aspergillus เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการออกซิเจนสูงมาก พบในบริเวณที่มีออกซิเจนมากเกือบทั้งหมดโดยทั่วไปเจริญเป็นเส้นใยราบนผิวของอาหารที่มีคาร์บอนมากเช่น กลูโคส อะไมโลส Aspergillus พบปนเปื้อนในอาหารที่มีแป้ง เช่นขนมปังและมันฝรั่ง และเจริญบนต้นไม้
           Aspergillus บางชนิดก่อให้เกิดโรคที่เป็นปัญหาในคนและสัตว์ ที่เป็นที่รู้จักดีคือ Aspergillus fumigatus  and Aspergillus flavus  ผลิตอะฟลาทอกซิน (aflatoxin) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และคงทนในอาหารเช่นถั่ว เชื้อที่ก่อโรคภูมิแพ้ เช่นAspergillus fumigatus และ สปีชีส์ที่เป็นเชื้อก่อโรคที่สำคัญทางการเกษตรเช่น Aspergillus spp. ก่อโรคในธัญพืช โดยเฉพาะข้าวโพด และสร้าง mycotoxin รวมทั้งอฟลาทอกซิน


        

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กานพลู

             กานพลู ( Clove ) เป็นไม้ยืนต้น สูง 5 - 10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5 - 4 ซม. ยาว 6 - 10 ซม. ขอบเป็นคลื่น ใบอ่อนสีแดงหรือน้ำตาลแดง เนื้อใบบางค่อนข้างเหนียว ผิวมัน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาวและร่วงง่าย กลีบเลี้ยงและฐานดอกสีแดงหนาแข็ง ผลเป็นผลสด รูปไข่
          ในตำรายาไทย ใช้ดอกตูมแห้งแก้ปวดฟัน โดยใช้ดอกแช่เหล้าเอาสำลีชุบอุดรูฟัน และใช้ขนาด 5 - 8 ดอก ชงน้ำเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำหรือใช้เคี้ยวแก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ นอกจากนี้ใช้ผสมในยาอมบ้วนปากดับกลิ่นปาก พบว่าในน้ำมันหอมรเหยที่กลั่นจากดอกมีสาร eugenol ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ จึงใช้แก้ปวดฟัน และมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดท้องลดลง ช่วยขับน้ำดี ลดอาการจุกเสียดที่เกิดจากการย่อยไม่สมบูรณ์ และสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด



วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ดอกกระเจี๊ยบแห้ง

               พืชสมุนไพรที่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 3–6 ศอก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายแบบด้วยกัน ขอบใบเรียบ บางทีก็มีรอยหยักเว้า 3 หยัก สีของดอกเป็นสีชมพู ตรงกลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ กลีบดอกร่วงโรยไป กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงก็จะเจริญเติบโตขึ้นอีกเกิดเป็นสีม่วงแดงเข้มหุ้ม
การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดปลูก ควรปลูกในหน้าฝน พรวนดินก่อนปลูก ขุดหลุมปลูกหลุมละ 2-3 เมล็ด ระยะห่างของหลุมประมาณ ½-1 เมตร พอต้นอ่อนงอกออกมาแล้ว ให้ถอนต้นที่อ่อนแอกว่าออกไปเอาต้นที่แข็งแรงไว้ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดวัชพืชออกให้หมด
กระเจี๊ยบแดงยังมีชื่อเรียกอื่นอีก ได้แก่ ภาคเหนือ เรียก ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง เงี้ยว จังหวัดแม่ฮ่องสอน เรียก ส้มปู จังหวัดตาก เรียก ส้มตะแลงเครง ภาคกลาง เรียก กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว


อบเชย

        อบเชย (cinnamon) เป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอม ได้มาจากเปลือกไม้ชั้นในที่แห้งแล้วของต้นอบเชย แท่งอบเชยมีสีน้ำตาลแดง มีลักษณะเหมือนแผ่นไม้แห้งที่หดงอหลังจากโดนความชื้น มักจะเรียกตามแหล่งเพาะปลูกเช่น อบเชยจีบ อบเชยลังกา อบเชยญวน เป็นต้น ในประเทศไทยไม่นิยมปลูกเพราะภูมิอากาศไม่เหมาะสม

     อบเชยมีสรรพคุณทางยา เนื่องจากมีแทนนินสูงที่ให้รสฝาดจึงนิยมใช้ในยาตำรับแผนโบราณเช่น เป็นส่วนผสมในยาหอมต่าง ๆ โดยใช้ส่วนของเปลือกลำต้น ใช้ในการแก้จุกเสียด แน่นท้อง หรือใช้ในการทำยานัตถุ์ใช้สูดดม เพื่อเพิ่มความสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย แก้โรคท้องร่วงเพราะมีส่วนช่วยต้านแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ ช่วยในการย่อยอาหาร และสลายไขมัน 

      อบนิยมใช้อบเชยในการทำเครื่องแกงเช่น พริกแกงกะหรี่ประเภทผัดที่ใช้ผงกะรี่ ใช้เป็นไส้กะหรี่ปั๊ป หรือใช้ร่วมกับโป๊ยกั๊กในอาหารคาวประเภทต้มเช่น พะโล้และเนื้อตุ๋น ส่วนในประเทศแถบตะวันตก มักใส่อบเชยในของหวาน เช่น ชินนามอลโรลด์ ใช้ผงอบเชยละเอียดโรยหน้ากาแฟใส่นม นอกจากนี้ยังมีลูกอม หมากฝรั่ง และยาสีฟันรสอบเชยอีกด้วย

        

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บันทึกความดีประจำวันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

1. เก็บที่นอน และพับผ้าห่ม
2.กล่าวสลามก่อนออกจากบ้าน
3. ไหว้พ่อแม่ก่อนมาโรงเรียน
4.ไหว้ครูก่อนเข้าโรงเรียน
5. ร้องเพลงชาติ
6. กล่าวดุอาฮ์
7.กล่าวคำปฎิญาณตน