ไลค์หน่อยคับ

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เชื้อรา Aspergillus

       Aspergillus เป็นสกุลของรามีสมาชิกประมาณ 200-300 ชนิดในธรรมชาติ พบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2272 โดย Pier Antonio Micheliชาวอิตาลีที่ดูเชื้อราด้วยกล้องจุลทรรศน์ Micheli เห็นว่ารูปร่างของราเหมือนน้ำพุจึงตั้งชื่อตามรูปร่างนั้น ในปัจจุบัน "aspergillum" เป็นชื่อของราที่ผลิตสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ ในขณะที่ 1 ใน 3 ของสปีชีส์ทั้งหมดมีระยะที่มีเพศ
         Aspergillus เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการออกซิเจนสูงมาก พบในบริเวณที่มีออกซิเจนมากเกือบทั้งหมดโดยทั่วไปเจริญเป็นเส้นใยราบนผิวของอาหารที่มีคาร์บอนมากเช่น กลูโคส อะไมโลส Aspergillus พบปนเปื้อนในอาหารที่มีแป้ง เช่นขนมปังและมันฝรั่ง และเจริญบนต้นไม้
           Aspergillus บางชนิดก่อให้เกิดโรคที่เป็นปัญหาในคนและสัตว์ ที่เป็นที่รู้จักดีคือ Aspergillus fumigatus  and Aspergillus flavus  ผลิตอะฟลาทอกซิน (aflatoxin) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และคงทนในอาหารเช่นถั่ว เชื้อที่ก่อโรคภูมิแพ้ เช่นAspergillus fumigatus และ สปีชีส์ที่เป็นเชื้อก่อโรคที่สำคัญทางการเกษตรเช่น Aspergillus spp. ก่อโรคในธัญพืช โดยเฉพาะข้าวโพด และสร้าง mycotoxin รวมทั้งอฟลาทอกซิน


        

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กานพลู

             กานพลู ( Clove ) เป็นไม้ยืนต้น สูง 5 - 10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5 - 4 ซม. ยาว 6 - 10 ซม. ขอบเป็นคลื่น ใบอ่อนสีแดงหรือน้ำตาลแดง เนื้อใบบางค่อนข้างเหนียว ผิวมัน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาวและร่วงง่าย กลีบเลี้ยงและฐานดอกสีแดงหนาแข็ง ผลเป็นผลสด รูปไข่
          ในตำรายาไทย ใช้ดอกตูมแห้งแก้ปวดฟัน โดยใช้ดอกแช่เหล้าเอาสำลีชุบอุดรูฟัน และใช้ขนาด 5 - 8 ดอก ชงน้ำเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำหรือใช้เคี้ยวแก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ นอกจากนี้ใช้ผสมในยาอมบ้วนปากดับกลิ่นปาก พบว่าในน้ำมันหอมรเหยที่กลั่นจากดอกมีสาร eugenol ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ จึงใช้แก้ปวดฟัน และมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดท้องลดลง ช่วยขับน้ำดี ลดอาการจุกเสียดที่เกิดจากการย่อยไม่สมบูรณ์ และสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด



วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ดอกกระเจี๊ยบแห้ง

               พืชสมุนไพรที่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 3–6 ศอก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายแบบด้วยกัน ขอบใบเรียบ บางทีก็มีรอยหยักเว้า 3 หยัก สีของดอกเป็นสีชมพู ตรงกลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ กลีบดอกร่วงโรยไป กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงก็จะเจริญเติบโตขึ้นอีกเกิดเป็นสีม่วงแดงเข้มหุ้ม
การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดปลูก ควรปลูกในหน้าฝน พรวนดินก่อนปลูก ขุดหลุมปลูกหลุมละ 2-3 เมล็ด ระยะห่างของหลุมประมาณ ½-1 เมตร พอต้นอ่อนงอกออกมาแล้ว ให้ถอนต้นที่อ่อนแอกว่าออกไปเอาต้นที่แข็งแรงไว้ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดวัชพืชออกให้หมด
กระเจี๊ยบแดงยังมีชื่อเรียกอื่นอีก ได้แก่ ภาคเหนือ เรียก ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง เงี้ยว จังหวัดแม่ฮ่องสอน เรียก ส้มปู จังหวัดตาก เรียก ส้มตะแลงเครง ภาคกลาง เรียก กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว


อบเชย

        อบเชย (cinnamon) เป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอม ได้มาจากเปลือกไม้ชั้นในที่แห้งแล้วของต้นอบเชย แท่งอบเชยมีสีน้ำตาลแดง มีลักษณะเหมือนแผ่นไม้แห้งที่หดงอหลังจากโดนความชื้น มักจะเรียกตามแหล่งเพาะปลูกเช่น อบเชยจีบ อบเชยลังกา อบเชยญวน เป็นต้น ในประเทศไทยไม่นิยมปลูกเพราะภูมิอากาศไม่เหมาะสม

     อบเชยมีสรรพคุณทางยา เนื่องจากมีแทนนินสูงที่ให้รสฝาดจึงนิยมใช้ในยาตำรับแผนโบราณเช่น เป็นส่วนผสมในยาหอมต่าง ๆ โดยใช้ส่วนของเปลือกลำต้น ใช้ในการแก้จุกเสียด แน่นท้อง หรือใช้ในการทำยานัตถุ์ใช้สูดดม เพื่อเพิ่มความสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย แก้โรคท้องร่วงเพราะมีส่วนช่วยต้านแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ ช่วยในการย่อยอาหาร และสลายไขมัน 

      อบนิยมใช้อบเชยในการทำเครื่องแกงเช่น พริกแกงกะหรี่ประเภทผัดที่ใช้ผงกะรี่ ใช้เป็นไส้กะหรี่ปั๊ป หรือใช้ร่วมกับโป๊ยกั๊กในอาหารคาวประเภทต้มเช่น พะโล้และเนื้อตุ๋น ส่วนในประเทศแถบตะวันตก มักใส่อบเชยในของหวาน เช่น ชินนามอลโรลด์ ใช้ผงอบเชยละเอียดโรยหน้ากาแฟใส่นม นอกจากนี้ยังมีลูกอม หมากฝรั่ง และยาสีฟันรสอบเชยอีกด้วย